รวมบทความ : บันทึกรุ่งอรุณ

“Living and Learning at Roong Aroon School in Thailand” by Andrea L., Robin M., & Camden V.
Holistic Teaching & Learning Conference by The Center For Holistic Education at Southern Oregon University Roong Aroon School is rooted in values of Buddhism, holism,

Learning by Living: Free Play in Kindergarten English Program at Roong Aroon School
earning by Living: Free Play in Kindergarten English Program at Roong Aroon School At Roong Aroon School, the kindergarten programs have been designed explicitly with

Learning by Living: Circle Time in Kindergarten English Program at Roong Aroon School
Learning by Living: Circle Time in Kindergarten English Program at Roong Aroon School The Rhythm of Circle Time is important. Start by the movement story telling

Learning by Living: The Rhythms and Routines of a Kindergarten Day
Roong Aroon’s Kindergarten English Program Learning in kindergarten is far more than learning skills or facts or knowledge. Learning in kindergarten is learning how to

Learning by Living: The Importance of Free Play
Roong Aroon’s Kindergarten English Program At Roong Aroon School, the kindergarten programs have been designed explicitly with the holistic and developmental needs of children in

เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนใกล้โรงเรียน ตามหาของเด่นริมคลองบางมด
ที่มา : http://www.tei.or.th/th/events_activities_detail.php?event_id=1614

LEARNING TO LIVE TOGETHER
By Andrea Laubstein Original article: Learning to Live Together I am so happy to share the following article which I have composed in collaboration with two

โครงการผลิตสื่อธรรมะภาษาอังกฤษ
กองทุนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการผลิตสื่อธรรมะภาษาอังกฤษ ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ สำหรับนักเรียนและประชาชนทั่วไป ร่วมกับเครือข่ายพระธัมมเจดีย์ โดย พระ ดร. บูชา ธัมมปูชโก วัดป่าแก้ว จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นระยะเวลา ๒ ปี ประกอบด้วย ๔ กิจกรรมหลัก ดังนี้ การทำเว็บไซต์ https://knowenglish.net/ เป็นพื้นที่การเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์

สติสัมปชัญญะคือที่พึ่งของครูและเด็ก
:: บทสนทนาระหว่าง รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ และผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ และครูรุ่งอรุณ ในการอบรมผ่านระบบออนไลน์ “หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โรงเรียนรุ่งอรุณ” วันที่ ๔-๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ครูกรรไกร: เราจะทำอย่างไรให้ดึงศักยภาพของเด็กออกมา ให้อยู่รอดปลอดภัยในยุคนี้ได้ เรามักเข้าข้างตัวเองว่าเราพาเขาสู่เป้าหมาย แต่ไม่รู้ว่าที่เราทำไปมันพอแล้วหรือยังสำหรับเด็ก รศ.ประภาภัทร: การเป็นครูต้องคิดง่ายๆ ว่า นักเรียนเขาจะเป็นอย่างไร เขาก็เป็นเหมือนครูนั่นล่ะ ครูกรรเป็นอย่างไร

ชีวิตครูต้องธรรมดา
:: บทสนทนาระหว่าง รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ และผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ และครูรุ่งอรุณ ในการอบรมผ่านระบบออนไลน์ “หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โรงเรียนรุ่งอรุณ” วันที่ ๔-๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ รศ.ประภาภัทร: อาจารย์มาอยู่ใช้ชีวิตที่พะเยา ชีวิตเราธรรมดามาก คนที่มาปฏิบัติธรรมด้วยกันจะเข้าใจ ธรรมดามาก สะดวกสบายมาก เราใช้เสื้อผ้าแค่ ๓ ชุด จริงๆ ชุดเดียว

หลักสูตรฐานสมรรถนะรุ่งอรุณ เตรียมเด็กพร้อมเผชิญโลกยุค Disruption
“แม้ว่าเทคโนโลยีจะเจริญมาก ทำให้เราสะดวกสบาย แต่กลับกลายเป็นว่าชีวิตในอนาคตข้างหน้าของพลโลกกลับไม่ง่าย เพราะฉะนั้นการที่จะเตรียมคนให้ไปเผชิญความยาก สามารถดำรงชีวิตอยู่ให้รอดปลอดภัยและมีความสุข กลายมาเป็นโจทย์ของครูด้วย” รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ และผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ กล่าวถึงโจทย์ใหญ่ที่เป็นความท้าทายของครูรุ่งอรุณ (รวมถึงครูทุกคนด้วย) กับการเตรียมเด็กให้พร้อมเผชิญโลกยุค Disruption นี้ ในการอบรมผ่านระบบออนไลน์เรื่อง “หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ” กับทีมครูรุ่งอรุณทั้งโรงเรียน เมื่อที่ ๔-๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา การประชุมในครั้งนี้ คุณครูสุวรรณา

ครูนักสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space)
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ตนและโลกผ่านการเล่น เล่นในห้องเรียน เรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เล่นอิสระในธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับธรรมชาติรอบตัว เล่น ทดลอง ลงมือทำ ให้เกิดประสบการณ์ตรง และพัฒนาการทางภาษา และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องราวนั้นๆ ของเด็กแต่ละคน ทุกกิจกรรม ทุกการเล่นของเด็กล้วนสัมพันธ์กับพื้นที่ แต่ละพื้นที่ครูมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องอะไร แล้วพื้นที่แบบไหนที่เอื้อให้การ “เล่น ทดลอง ลงมือทำ” ของเด็กไปสู่การเรียนรู้ได้มากที่สุด เป็นโจทย์ที่ครูปฐมวัยจะต้องช่วยกันวิเคราะห์และออกแบบ อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์การเรียนรู้ (Learning Vision) เพื่อให้ทุกพื้นที่รอบตัวเด็กเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้

Teacher as a Learning Designer ครูนักออกแบบการเรียนรู้
เรื่องราวการเรียนรู้ในหน่วยบูรณาการสู่ชีวิต เรื่อง “ชีวิตสัตว์ในฤดูร้อน” ของเด็กๆ อนุบาล โรงเรียนรุ่งอรุณ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นนักออกแบบการเรียนรู้ (Learning Designer) ของครูปฐมวัย ที่เชื่อมั่นและวางใจในศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน แล้วออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process Design) ให้เด็กได้ลงมือทำ มีประสบการณ์ตรง เป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของเขา จนเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจในทุกมิติ ทั้งความรู้ (Head) ทักษะ (Hand) และจิตสำนึกที่ดี

Visible Learning เมื่อครูมองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของเด็ก
วันหนึ่งในฤดูร้อน เด็กๆ อนุบาลห้องสายลมวางแผนกันว่าจะออกไปสำรวจชีวิตสัตว์ในฤดูร้อนรอบๆ บริเวณโรงเรียน แต่ระหว่างทางเด็กคนหนึ่งทำแว่นขยาย (อุปกรณ์สำคัญที่เด็กๆ ตั้งใจเอาไปส่องมด) ตกลงไปในบึงน้ำ! ทันทีที่รู้ว่าแว่นขยายตกน้ำ ความสนใจของเด็กๆ ทั้งกลุ่มก็พุ่งไปที่แว่นขยายในบึงโดยพร้อมเพรียง ทำอย่างไรจึงจะเอาแว่นขยายขึ้นมาได้ แต่ละคนต่างช่วยกันเสนอวิธีการ ณ เวลานั้นไม่มีใครพูดถึงนก มด และสัตว์ที่คิดจะไปดูอีกต่อไป ครูควรทำอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ ชวนเด็กหาวิธีเก็บแว่นขยาย หรือพาเด็กๆ ไปดูสัตว์กันต่อตามแผนที่วางไว้? เรื่องราวการเรียนรู้ของเด็กๆ อนุบาลห้องสายลม โรงเรียนรุ่งอรุณ ที่สะท้อนให้เห็นถึงสมรรถนะของครูที่อ่านเด็กออก

Growth Mindset ทำให้รุ่งอรุณไม่หยุดพัฒนา
“ถ้ารุ่งอรุณมี Fix Mindset ก็จะบอกว่า ฉันทำดีอยู่แล้ว แต่นี่มี Growth Mindset หมายความว่าหาทางที่จะพัฒนาต่อเนื่อง” ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช กรรมการบริหารมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ สะท้อนถึงแนวทาง “รุ่งอรุณ ชีวิตวิถีใหม่” ในการประชุมสามัญมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ ประจำปี 2563 และการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนรุ่งอรุณ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2563

ห้องเรียน : สัปปายะสถานแห่งการเรียนรู้
“พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ที่ริมแม่น้ำเนรัญชรา ในช่วงที่ท่านไปประทับอยู่ที่นั่น ท่านปรารภว่า สถานที่ตรงนี้มีสัปปายะ ควรแก่การพิจารณาธรรมเป็นอย่างยิ่ง” “มันโล่งกว้าง มองไปเห็นสายน้ำที่ไหลริน มีลมพัด สายลมบางเบาที่พัดผ่านเย็นสบาย มองไปได้ไกลสุดขอบฟ้า เห็นต้นไม้เขียวชอุ่ม ความรู้สึกสดชื่นจิตใจสงบ ไม่ดิ้นรน จิตใจที่สงบก็พร้อมที่จะเกิดพลังงาน” “เห็นไหมว่าสถานที่มีผลมากต่อการเรียนรู้ของพระพุทธองค์ จึงตรัสรู้ ในบริเวณใดท่านเลือกแล้ว ไม่ใช่ตรงไหนก็ได้ ไม่ใช่อยู่อย่างไรก็เรียนรู้ได้ แต่เป็นสถานที่เหมาะเจาะพอควรและส่งเสริมเกื้อกูลการเรียนรู้” “โรงเรียนของเราเป็นอย่างไร เป็นสถานที่สัปปายะหรือยัง?” รศ.ประภาภัทร นิยม ตั้งคำถามชวนผู้บริหารและครูย้อนมองตนเอง ในการอบรม

การเดินทางไปดูงานพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
เมื่อตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาแบบเรียน และการจัดการเรียนการสอนพุทธศาสนาสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ให้ทันต่อยุคสมัย โดยไม่บิดเบือนจากแก่นพระศาสนาและเด็กสามารถรับประโยชน์จากธรรมนำมาใช้ในชีวิตตนได้จริง คณะตัวแทนของมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณจึงได้ร่วมเดินทางไปกับคณะพระสงฆ์และญาติโยมในกลุ่มพระไตรปิฎกศึกษา ที่ได้รับการสนับสนุนค่าเดินทางจากมูลนิธิพระไตรปิฎกเพื่อประชาชนร่วมกับคณะโยมอุปัฏฐากวัดจากแดง (สมุทรปราการ) ไปศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ยังคงมีการศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเข้มแข็งในหมู่พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งฆราวาสทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก เช่น ในประเทศพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม ถึง ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระมหาประนอม ธัมมาลังกาโร

Teacher as a Learning Expert
ในอีก 10 ปี 20 ปี ข้างหน้ายังไม่มีใครจินตนาการได้ว่า โลกจะเป็นอย่างไร? ความท้าทายของครูในวันนี้ คือครูจะเตรียมเด็กให้พร้อมเผชิญโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวินาทีนี้ได้อย่างไร รศ.ประภาภัทร นิยม นักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ เน้นย้ำอยู่เสมอว่า เด็กทุกคนเรียนรู้ได้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างหลากหลาย เช่น เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการเห็นตัวอย่าง เรียนรู้จากการลงมือทำ เรียนรู้จากการฟังและการเชื่อมโยงเหตุและผล หรือแม้แต่การเรียนรู้ที่มาจากการดู การฟัง การอ่าน จากความรู้ของผู้อื่นที่ได้บันทึกไว้

จิตตปัญญา…จากครูธรรมดา (ตอนที่ 2)
เรื่อง : รศ.ประภาภัทร นิยม ๓.ชีวิตที่สอง “สุขล้นเหลือ” วิธีเลี้ยงดูลูกซึ่งเป็นที่นิยมกันไม่น้อยในยุคปัจจุบัน ที่คนทั้งครอบครัว คือ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา รวมทั้งพี่เลี้ยง มักจะชื่นชูลูกหลานไว้ราวกับเทพบุตร เทพธิดาก็ไม่ปาน ไม่ว่าเทพน้อยเหล่านี้จะทำอะไร ก็ดูดีไปหมด การปรนเปรอเอาอกเอาใจจึงเป็นเรื่องปกติของครอบครัว ดังนั้นเมื่อเขาโตขึ้น เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

จิตตปัญญา…จากครูธรรมดา (ตอนที่ 1)
เรื่อง : รศ.ประภาภัทร นิยม ๑. ชีวิตนี้มีค่านัก คนเราทุกคนที่เกิดมาแล้ว ได้ชีวิตมาแล้ว จะมีสักกี่คนที่ระลึกรู้ถึงคุณค่าแห่งชีวิต-ความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูง จะมีสักกี่คนที่จะระมัดระวัง ไม่ใช้ชีวิตอย่างทิ้งๆ ขว้างๆ ไม่ใช้ชีวิตด้วยความประมาทพลาดพลั้ง และไม่ดูแคลนชีวิตจนเกินไปจนดูน่าสงสาร ดังที่ได้ยินได้ฟังได้เห็นตัวอย่างมามากมายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ในวัยต้นของชีวิตเช่นเด็กๆ ยังต้องเผชิญกับความ “ทุกข์ท่วมท้น” ก็มี ในขณะที่อีกคนถูกปรนเปรอด้วยความ “สุขล้นเหลือ” ก็มีเช่นกัน ลองจินตนาการดูเถิดว่า ในสุดโต่งทั้งสองข้างนั้น จิตวิญญาณของเด็กๆ